Title
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารกับสภาพขวัญในการปฏิบัติงานของครู – อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1-6 ในช่วงการปฏิรูปการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
THE RELATIONSHIP BETWEEN THE WORK BEHAVIOR OF THE ADMINISTRATORS AND THE MORALE OF TECHNICAL COLLEGE TEACHERS IN THE VOCATION EDUCATION INSTUTUTE CENTRAL REGION 1-6 DURING THE VOCATIONAL EDUCATION REFORM PERIOD OF THE VOCATIONAL EDUCATION COMMISSION
Name: ทวีศักดิ์ กวยะปาณิก
Organization : วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี
ThaSH: วิทยาลัยเทคนิค -- วิจัย
Classification :.DDC: 378.11
ThaSH: ผู้บริหารการศึกษา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร และระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครู – อาจารย์ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การบริหารของผู้บริหารกับขวัญในการปฏิบัติงานของครู – อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิค สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1–6 ในช่วงปฏิรูปการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นครู – อาจารย์ผู้สอนจำนวน 316 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) อย่างเป็นสัดส่วนจากแต่ละวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 9.0 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคตามความคิดเห็นของครู – อาจารย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยทั้ง 6 ด้านคือ ด้านการกำหนดเป้าหมาย การติดต่อสื่อสาร การตัดสินใจ การควบคุมบังคับบัญชา การเป็นผู้นำและด้านการจูงใจ 2. ขวัญในการปฏิบัติงานของครู – อาจารย์ วิทยาลัยเทคนิคในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการยอมรับความสามารถของตนเองและด้านความรู้สึกตนเองมีความสำคัญ อยู่ในระดับปานกลางมี 6 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ความรู้สึกสัมฤทธิ์ผลในการทำงาน ความรู้สึกเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย ความพึงพอใจในสภาพงานที่ดี การได้รับความยุติธรรม และด้านความมั่นคงปลอดภัย 3. พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารกับขวัญในการปฏิบัติงานของครู – อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.760)
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Name: สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Name: มณฑล คงแถวทอง
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Created: 2548-09-27
Issued: 2547
Text
text/html
ISBN: 9747540827
tha
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน
Environment Management of Nan Polytechnic College
Name: นที หวนนิโรธ
keyword: การจัดการสิ่งแวดล้อม
ThaSH: การจัดการสิ่งแวดล้อม -- วิจัย
Classification :.DDC: 363.7072 น14ก
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน ตามสภาพการปฏิบัติงานและกระบวนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน โดยเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานของกรมอาชีวศึกษา ตลอดถึงการศึกษาและเปรียบเทียบสภาพสิ่งแวดล้อมสถานศึกษาด้านกายภาพ ด้านวิชาการ ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษา ได้แก่ ครู - อาจารย์ เจ้าหน้าที่ กับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. และนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน ได้แก่ ครู - อาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 70 คน นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 208 คน และนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น จำนวน 104 คน รวม 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยมีค่าความเชื่อมั่นแต่ละส่วนคือด้านกระบวนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการโครงการ α = .6623 และสิ่งแวดล้อมสถานศึกษาด้านกายภาพ α = .9156 สิ่งแวดล้อมสถานศึกษาด้านวิชาการ α = .9579 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการทดสอบภายหลังเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe’s) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพของการใช้พื้นที่ห้องเรียนทฤษฎีและห้องปฏิบัติการ โดยเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานของกรมอาชีวศึกษา พบว่าพื้นที่ห้องเรียนของวิชาทฤษฎีทั้งภาคแรก และภาคเรียนหลังมีความจำเป็นต้องใช้ห้องเรียนทั้งหมด จำนวน 22 ห้อง และปัจจุบันมีห้องเรียนของวิชาทฤษฎีอยู่ 22 ห้อง อยู่แล้ว จึงมีความเพียงพอต่อการใช้สอน แต่พบว่าพื้นที่ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติในโรงงานยังไม่เพียงพอ มีความต้องการอีกจำนวน 1,840 ตารางเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ฝึกปฏิบัติในโรงงานของทุกแผนกวิชาช่างอุตสาหกรรม อนึ่งจากผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของครู - อาจารย์ ต่อการปฏิบัติงานด้านกระบวนการบริหารในสถานศึกษา เกี่ยวกับแผนปฏิบัติงาน/โครงการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงว่าสภาพโดยรวมต่อผลการปฏิบัติงานได้ค่อนข้างมาก แต่สำหรับในส่วนของพื้นที่ปฏิบัติงานในโรงงานยังไม่มีความเพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณของนักศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานของกรมอาชีวศึกษา 2. การดำเนินงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน อยู่ในระดับมาก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ กับนักศึกษาวิชาชีพระยะสั้นเห็นว่าผลการปฏิบัติงานสิ่งแวดล้อมทางกายภาพสูงกว่านักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและเกือบทุกข้อรายการแสดงว่าผลการปฏิบัติงานสิ่งแวดล้อมทางกายภาพยังไม่เกิดประสิทธิผลเพียงพอเท่าที่ควร 3. การดำเนินงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางวิชาการของวิทยาลัยสารพัดช่างน่านอยู่ในระดับมาก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือครู อาจารย์ กับนักศึกษาวิชาชีพระยะสั้น เห็นว่าผลการปฏิบัติงานสิ่งแวดล้อมทางวิชาการมีระดับสูงกว่านักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเกือบทุกข้อรายการแสดงว่าผลการปฏิบัติงานสิ่งแวดล้อมทางวิชาการยังไม่เกิดประสิทธิผลเพียงพอเท่าที่ควร
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
Address: อุตรดิตถ์
Name: ทิพวัลย์ ประเสริฐพันธุ์
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2546
Modified: 2549-08-10
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 974-9642-13-9
CallNumber: ป-อต. 363.7072 น14ก
tha
Spatial: น่าน
การใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน
Buildings and Grounds Usage : Vocational Colleges in Nan Province
Name: สมคิด แก้วแตชะ
keyword: อาชีวศึกษา
ThaSH: การศึกษาทางอาชีพ -- วิจัย
Classification :.DDC: 370.113072 ส16ก
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้และปัญหาความเพียงพอในการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน และศึกษาแนวทางการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องได้แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ นักเรียน ของสถานศึกษาที่สังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่านซึ่งมีอยู่ 4 สถานศึกษาคือ วิทยาลัยเทคนิคน่าน วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน วิทยาลัยการอาชีพปัว และวิทยาลัยการอาชีพเวียงสา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหาร 18 คน ครูผู้สอน 165 คน เจ้าหน้าที่ 70 คน นักเรียน 365 คนรวมทั้งสิ้น 618 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับคือ = 0.99 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่าง สภาพการใช้และปัญหาความเพียงพอในการใช้อาคารสถานที่ ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่มโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ (Scheffe) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-PC+ (Statistical Package for the Social Science/Personal Computer Plus) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่านตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง สภาพการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ น้อย ปัญหาความเพียงพอในการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ปัญหาความเพียงพอในการใช้อาคารสถานที่อยู่ในระดับ ปานกลาง แนวทางในการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาในจังหวัดน่าน ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นว่า การจัดตารางการใช้อาคารสถานที่เป็นแบบแบ่งเป็นรอบ (ร้อยละ 96.40)
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
Address: อุตรดิตถ์
Name: ประพิศ นามกร
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2546
Modified: 2549-08-10
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 974-9642-12-0
CallNumber: ป-อต. 370.113072 ส16ก
tha
Spatial: น่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น