workshop 4
เรื่องที่ 1👈
เจริญ กาญจนะ. 2554. รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2554, หน้า 91-101
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย เพื่อสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการดําเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัยและประเมินผลการดําเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาเป็นครูนักวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจํานวน 48 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือเครื่องมือคัดสรรนวัตกรรม แบบประเมินคุณภาพของเค้าโครงวิจัย แบบประเมินคุณภาพของรายงานวิจัย แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อรูปแบบว่า มีความเป็นไปได้ในระดับสูง 2) ผู้เข้าอบรมมีความพร้อมที่จะดําเนินการวิจัย 20 เรื่อง 3) เค้าโครงวิจัยของ ผู้ผ่านการอบรมที่ส่งมีจํานวน 20 เรื่อง ทุกเรื่องมีคุณภาพระดับสูง 4) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มีจํานวน 14 เรื่อง ทุกเรื่องมีคุณภาพระดับสูง จัดพิมพ์เป็นบทความวิจัยและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบทความวิจัยของวิทยาลัยเทคนิคสตูล 5) ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบในระดับมากที่สุด 6) ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ต่อการดําเนินงานตามรูปแบบในระดับมากที่สุด
เรื่องที่ 2 👈
วิภาดา ศรีจอมขวัญ. 2556. รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2556, หน้า 68-81
บทคัดย่อ
ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้ 1.) สภาพการบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูอาชีวศึกษา ร้อยละ 90 ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย ควรมีลักษณะดังนี้ รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทยที่เป็นมาตรฐาน มีกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครู อาชีวศึกษาที่เป็นระบบ ด้วยการมีส่วนร่วมของครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษา มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ ในการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้น และมีเป้าหมายชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร มีการ ทดสอบและมีประเมินผลโดยใช้ระบบสารสนเทศ และมีคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆทั้ง 4 ฝ่ายในสถาน ศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา 2555 ด้านการประกันภายใน มาตรฐานที่ 3 (10) 2). ผลการสร้างรูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทยด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management -RBM) พบว่า รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย คำชี้แจง บทนำ หลักการ วัตถุประสงค์ ความสำคัญ ของการบริหารฯ ขอบข่ายของรูปแบบฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารฯ ส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ บริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษาประเภทต่างๆในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษา โดยจัดทำเป็นระบบ และมีขั้นตอน ประกอบด้วย การบริหารการพัฒนาสมรรถนะครู อาชีวศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา 2555 ด้านการประกันภายในสถานศึกษา และส่วนที่ 3 เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพแลประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา และ 3.) ผลการวิเคราะห์การประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบบริหารการ พัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย ด้วยวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management -RBM) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้น ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นต่อความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของ รูปแบบบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และมีส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เท่ากับ 0.398 ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน
เรื่องที่ 3 👈
สนุ่น มีเพชร. 2562. สมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้ และทักษะวิชาชีพ. วารสารวิจัยการพัฒนา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562, หน้า 52-60
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t test) และ (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพโดยรวม และรายด้าน ด้านผู้สมรรถนะหลัก ด้านสมรรถนะในหน้าที่เฉพาะสาขา และด้านสมรรถนะความเชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากนักเรียน นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษา ระดับชั้น และอยู่ในชั้นปี ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05นักเรียน นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ที่มีเพศที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียน นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในสาขาวิชา ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ โดยรวม และรายด้าน ด้านสมรรถนะหลัก และด้านสมรรถนะความเชี่ยวชาญ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสมรรถนะในหน้าที่เฉพาะสาขา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น